การพิสูจน์ตนเองที่ดี อาศัยเวลาและการกระทำ มิใช่อธิบายและเหตุผล
ร่าเริงเป็นยาบำรุง ความหวังเป็นยาบำรุง เมตตาเป็นยาบรรเทา
ด้วยรักที่จะเรียนรู้ ล้มเหลวไม่ใช่เรื่องเลวร้าย มันให้บทเรียนและพิสูจน์ศรัทธา
เราทำงาน อย่าให้งานทำเรา ให้งานเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต ให้ชีวิตเพียงรู้จักรักการงาน
ชีวิตที่สดชื่นแจ่มใส ก้าวเดินไปด้วยการเรียนรู้ สันโดษอยู่ด้วยการแสวงหา
ผิดพลาดย่อมผิดหวัง คนเราผิดหวังได้เสมอ แต่อย่ายอมอยู่อย่างสิ้นหวัง
ในความว้าเหว่เงียบเหงา เพียงเรารู้จักสงบ เราจะพบตัวเราเอง
รอยร้าวในใจของนักสู้ ไม่ใช่อยู่ที่เคยล้มเหลว แต่อยู่ที่ไม่ยอมเริ่มต้นใหม่
ถ้าใจจะต้องปวดร้าว อย่างไรก็ปวดร้าว เร็วไปวันสองวันจะเป็นไรไป....
แพ้เป็นบันได ชนะเป็นสะพาน ประสบการณ์เป็นบทเรียน
วันจันทร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2555
อินเทอร์เน็ตสอง
มีโอกาสเห็นข้อสอบเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ว่า อินเทอร์เน็ต (Internet) กับ อินเทอร์เน็ตสอง (Internet2) ต่างกันอย่างไร ซึ่งมีคำถามตามมาว่าจะมีนักเรียนระดับมัธยมกี่คนที่สนใจ หรือทราบว่ามีเรื่องนี้เกิดขึ้นในโลกของเรา แต่ถ้าไม่สนใจก็คงไม่ได้ เพราะปรากฎในข้อสอบวัดความรู้แล้ว ความเป็นมาของอินเทอร์เน็ตสองนั้นเริ่มต้นจากมหาวิทยาลัยชั้นนำในสหรัฐอเมริกาจำนวน 35 แห่ง เปิดตัวโครงการพัฒนาระบบอินเทอร์เน็ตใหม่ในเดือนตุลาคม 2539 มีการรวมตัว จัดประชุม กำหนดมาตรฐาน และตั้งชื่อจนเป็นที่ยอมรับว่า Internet2 ปัจจุบันมีข้อมูลเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ www.internet2.edu และมีสมาชิกจากหลายกลุ่ม โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกาเข้าร่วมกลุ่มเพิ่มเป็นมากกว่า 200 แห่งแล้ว
วัตถุประสงค์ของอินเทอร์เน็ตสอง คือ การวางโครงสร้างเครือข่ายประสิทธิภาพสูงทดแทนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตแบบเดิมที่มีข้อจำกัดหลายด้าน มุ่งให้บริการ สนับสนุนด้านการศึกษา วิจัย และทดสอบเทคโนโลยีใหม่ เพื่อนำมาใช้งานจริงในอนาคต ปัจจุบันเครือข่ายหลักของอินเทอร์เน็ตสองที่เชื่อมต่อมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เข้าด้วยกันใช้ความเร็วสูง 2.5 จิกะบิตต่อวินาที หากเปรียบเทียบกับเครือข่ายหลัก (Backbone) ของสหรัฐอเมริกาที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน พบว่ามีความเร็วประมาณ 45 เมกะบิทต่อวินาที แต่โครงการนี้ยังไม่มีแผนเปิดให้ผู้ใช้ตามบ้านได้ใช้งานในอนาคตอันใกล้
ข่าวเดือนกรกฎาคม 2554 พบว่า Berkeley Lab’s Energy Sciences Network (ESnet) และ Internet2 มีข้อตกลงร่วมกันพัฒนาโปรโตคอลเครือข่าย ANI (Advanced Networking Initiative) ให้มีความเร็วถึง 100 จิกะบิทต่อวินาที เมื่อนึกถึงความเร็วของอินเทอร์เน็ตตามบ้านในไทย เรามี High speed internet หรือ ADSL ที่เร็วสูงสุดถึง 100 เมกะบิทต่อวินาที ส่วนบริการ 3G ก็มักมีในเขตเมืองหลวงที่บริการด้วยความเร็วสูงสุด 4 เมกะบิทต่อวินาที ส่วนเครื่องโทรศัพท์ก็ต้องหารุ่นใหม่ที่รองรับเครือข่าย UMTS หรือ W-CDMA มีเทคโนโลยีรับส่งข้อมูล HSDPA หรือ HSUPA ถ้าสังเกตจะพบว่าความเร็วในจินตนาการของอินเทอร์เน็ตสอง กับความเร็วที่เราใช้อยู่ทุกวันนี้ห่างกันเหลือเกิน เราในฐานะผู้ใช้ตามบ้านคงต้องเฝ้ารอดูการพัฒนากันต่อไป ถ้าผู้ผลิตพร้อมเมื่อใดเราก็คงจะได้ใช้เมื่อนั้น
สารสนเทศของท่านในแผนที่
ในพ.ศ.นี้ ถ้าพูดถึงแผนที่ก็คงต้องยกให้ maps.google.com เป็นเบอร์หนึ่ง ซึ่งบริษัท google กำลังพัฒนาซอฟท์แวร์ประเภทเครือข่ายสังคมที่ทำงานกับแผนที่โลก คือ Latitude Leaderboard แต่ยังไม่เป็นที่นิยมมากนัก แต่ผู้ให้บริการเครือข่ายสังคมที่บูรณาการเข้ากับแผนที่โลกจนประสบความสำเร็จในขณะนี้คือ foursquare.com ที่ใช้ระบบระบุตำแหน่งบนพื้นโลก(Global Positioning System) เปิดตัวในงาน South by Southwest Interactive ในเมืองออสติน รัฐเท็กซัส เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ.2552
หากเข้าใช้ foursquare.com ในระบบเว็บไซต์ หรือด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะก็อาจไม่เห็นความสามารถที่แท้จริงของบริการได้มากนัก แต่ก็ยังเป็นเครือข่ายสังคมที่สามารถบอกเล่าสถานะปัจจุบัน (Status Update) ค้นหาสถานที่ในตำแหน่งต่าง ๆ บนพื้นโลก เช่น ร้านอาหาร ร้านกาแฟ ชีวิตยามราตรี ร้านค้า ศิลปะ หรือกลางแจ้ง สามารถตรวจสอบสถานะของเพื่อน ๆ ในเครือข่ายได้ หากจะใช้บริการของ foursquare.com อย่างเต็มที่ จำเป็นต้องมีอุปกรณ์สื่อสารที่ระบุตำแหน่งได้ อาทิ iphone, smart phone หรือ tablet pc เพราะช่วยแสดงตำแหน่งของอุปกรณ์ในเวลาปัจจุบัน และพบรายชื่อเพื่อนของท่านในระแวกใกล้เคียงผ่านการแสดงผลแบบแผนที่ ดังนั้นเพื่อนของท่านก็จะพบท่านในแผนที่ได้เช่นกัน แต่ถ้าท่านไปทำงานแล้วลืมอุปกรณ์ไว้ที่บ้าน สถานะของท่านก็จะอยู่ที่บ้านเมื่อปรากฎในอุปกรณ์ของเพื่อน
สารสนเทศ (Information) คือ หัวใจของ foursquare.com เพราะการที่ท่านไปร้านอาหาร แล้วถ่ายรูปอาหารสุดโปรด แล้วบันทึกความคิดเห็นว่าดีอย่างไร เมื่อเพื่อนท่านเข้าไปในร้านอาหารเดิมก็จะสามารถสั่งตามที่ท่านได้แนะนำไว้ ในทางตรงข้ามหากท่านไม่ประทับใจ เมื่อเพื่อนได้อ่านก็จะไม่เข้าร้านนั้น แต่ไปเลือกร้านอื่นที่ดีกว่า ซึ่งเป็นการใช้สารสนเทศมาประกอบการตัดสินใจ ในด้านการทำงานของพนักงานขายที่ไปพบกลุ่มลูกค้าในพื้นที่หนึ่งก็จะบันทึกภาพกิจกรรม บทเรียน และข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรม หากปีต่อมาตัวท่าน หรือพนักงานขายอีกคนเข้าไปในชุมชนก็จะใช้ประโยชน์จากสารสนเทศเดิม เพื่อให้การเข้าไปครั้งใหม่มีความพร้อม และสามารถบรรลุเป้าหมายได้ตามแผน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)